ประวัติโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนเทศบาล  1 บ้านชะอำ(ชะอำวิทยาคาร)

                                โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ  (ชะอำวิทยาคาร)   สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี          กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น   กระทรวงมหาดไทย   เริ่มทำการเปิดสอนเมื่อวันที่   4   สิงหาคม  2466    เดิมชื่อ โรงเรียนประชาบาลตำบลชะอำ วัดชะอำ ซึ่งใช้ศาลาการเปรียญวัดชะอำคีรี   ตำบลชะอำ   อำเภอชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี   เป็นสถานที่เรียน   โดยมีนายอำเภอชะอำ(หนองจอกเดิมร่วมกับประชาชน   เป็นผู้เริ่มก่อตั้งเปิดสอนตั้งแต่ชั้นเตรียมประถมถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
                                ต่อมาในปี  พ.. 2486   ได้ย้ายสถานที่เรียนมาตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบันโดยมีกำนันเอื่อม  เนียมเงิน  และนายน้อย  เชิงชม เป็นผู้มอบที่ดินจำนวน 8 ไร่ 1  งาน  96  ตารางวาให้  และได้ดำเนินการสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารไม้  2 ชั้น  6 ห้องเรียน  1  ห้องมุข  ด้วยเงินงบประมาณและเงินสมทบเป็นจำนวนเงิน   20,000  บาท ต่อมาในปี พ.. 2495 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนบ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร)”

                                เมื่อวันที่ 1  เมษายน  พ.2506   โรงเรียนได้โอนจากกระทรวงศึกษาธิการเข้ามาอยู่ในสังกัดเทศบาลตำบลชะอำ    ทั้งโรงเรียน    ทรัพย์สิน   และตัวครู   ตามข้อตกลงของกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงมหาดไทยและได้เปลี่ยนชื่อเป็น   โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร)”   เป็นต้นมา
ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่   14  ถนนนราธิป   ซอย 4   ตำบลชะอำ   อำเภอชะอำ   จังหวัดเพชรบุรี   โทร. 0-3247-1451
ที่ตั้งและขนาด
                                โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ  (ชะอำวิทยาคาร)   ตั้งอยู่เลขที่ 14   ถนนนราธิป ซอย 4  ตำบลชะอำ   อำเภอชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี  ห่างจากเทศบาลเมืองชะอำ  อำเภอชะอำ  และสถานีตำรวจภูธรชะอำ ประมาณ  150  เมตร       มีเนื้อที่   8  ไร่   1  งาน   96   ตารางวา  
อาณาเขตของโรงเรียน

                ทิศเหนือ                จด           ถนนนิติธร   ซอย  1
                ทิศใต้                      จด           ถนนราษฎรพลี
                ทิศตะวันออก       จด           ถนนนราธิป  ซอย 4
                ทิศตะวันตก          จด          ที่ดินของการรถไฟ

ปัจจุบัน     โรงเรียนเทศบาล  1 บ้านชะอำ(ชะอำวิทยาคาร)    สังกัดเทศบาลเมืองชะอำ     กรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย  ดำรงอยู่ได้ด้วยงบประมาณการศึกษาท้องถิ่นเปิดสอนชั้นอนุบาลถึง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
2.4          ปรัชญา  วิสัยทัศน์  หลักการ  ภารกิจ  และเป้าหมายของสถานศึกษา
ปรัชญาการศึกษา
           “  การศึกษาพัฒนาคุณภาพชีวิต
          วิสัยทัศน์

          เป็นแหล่งการเรียนรู้    พัฒนาผู้เรียนตามวิถีไทย  ชุมชนร่วมใจพัฒนา          


images by free.in.th