ผลงานวิชาการ

1.รายงานการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและวิธีการสอนแบบปกติ
รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (ผู้วิจัย นางมะลิ กัณฑภา)
2. รายงานการใช้และพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ
(ผู้วิจัย นางสาวจินตนา เปล่งรัตน์)
3. รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ผู้วิจัย นางสาวจินตนา เปล่งรัตน์)
4. รายงานผลการใช้หนังสือการ์ตูนพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
(ผู้วิจัย นางสำเนียง พลอยดี)
5. โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ผู้วิจัย นายสถิต ดวงแก้ว)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่องานวิจัย รายงานการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและวิธีการสอนแบบปกติ
ชื่อผู้วิจัย นางมะลิ กัณฑภา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

รายงานการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและวิธีการสอนแบบปกติในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและวิธีการสอนแบบปกติ และเพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนสาระคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและวิธีสอนแบบปกติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ(ชะอำวิทยาคาร) เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 93 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 47 คน และกลุ่มควบคุม ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 46 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พร้อมแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน
2. แผนการจัดการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการสอนปกติ ตามคู่มือครูคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
4. แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังจากได้รับการสอนโดยใช้วิธีสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและวิธีสอนแบบปกติ
การวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของทั้งสองกลุ่ม โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/PC+ (Statistical Package for Social Science/Personal Computer Plus)

ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและวิธีการสอนแบบปกติก่อนเรียนและหลังเรียน สรุปผลได้ดังนี้
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก่อนเรียน พบว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความรู้พื้นฐานในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน
1.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังเรียน พบว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ที่ตั้งไว้
1.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ของกลุ่มควบคุมก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
1.4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ของกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
2. ผลการเปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนด้วยวิธีสอนแบบปกติตาม คู่มือครู พบว่า มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่า กลุ่มควบคุม เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 ที่ตั้งไว้

---------------------------------------------

ชื่องานวิจัย รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นางมะลิ กัณฑภา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน และเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ(ชะอำวิทยาคาร) เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 46 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ชุด โดยการแบ่งออกเป็นหน่วยการเรียน 10 หน่วยการเรียน
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
3. แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน

ผลการศึกษาพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.07/82.54 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) จากการเรียนด้วยบทเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6107 หรือคิดเป็นร้อยละ 61.07 แสดงว่า นักเรียนมีพัฒนาทางการเรียน เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน เพิ่มสูงขึ้น
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

---------------------------------------------------------------------------------------
ชื่อเรื่อง รายงานการใช้และพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ตัวประกอบของ
จำนวนนับ โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร)
ผู้รายงาน นางสาวจินตนา เปล่งรัตน์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2551
บทคัดย่อ
การใช้และพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร)
images by free.in.th